ซูโม่คืออะไร?
กีฬาญี่ปุ่นที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานเก่าแก่กว่า 1,500 ปี จากประวัติศาสตร์ดั้งเดิมเคยเป็นพิธีกรรมของลัทธิชินโตในการทำนายผลการเก็บเกี่ยวทางการเกษตร และมีการเต้นระบำเพื่อสร้างความบันเทิงให้เทพเจ้าชินโต จนเมื่อถึงสมัยเอโดะได้พัฒนารูปแบบกลายเป็นความบันเทิงของชาวบ้าน มีการจัดการแข่งขันประลองคู่ต่อสู้ และเปิดให้มีคนเข้ามาชมมากขึ้นโดยการแข่งขันซูโม่โดยมากมักจัดตามศาลเจ้าต่าง ๆ รวมถึงมีสนามประลองซูโม่ และต่อมามีการพัฒนามาเรื่อยๆ จนมาเป็นส่วนหนึ่งของกีฬาประจำชาติของญี่ปุ่น อย่างที่เห็นในปัจจุบัน
#️⃣ก่อนจะเป็นนักซูโม่มืออาชีพต้องเข้าฝึกที่ค่ายฝึกก่อน
แต่ละค่ายอาจมีกฎเกณฑ์รับสมัครต่างกัน แต่ส่วนมากจะรับสมัครอายุไม่เกิน 23-25 ปี ส่วนสูงไม่ต่ำกว่า 165-167 เซนติเมตร น้ำหนัก 65-67 กิโลกรัมขึ้นไปและเป็นเพศชายเท่านั้น
#️⃣ กิจวัตรประจำวันของซูโม่
เวลา
กิจกรรม
6:00 น.
ตื่นนอน
6:30 น.
ฝึกซ้อม
11:00 น.
อาบน้ำ
12:00 น.
รับประทานอาหารกลางวัน
14:00 น.
นอนหรือพักผ่อนตามอัธยาศัย
16:00 น.
ทำอาหารและฝึกซ้อม
18:00 น.
รับประทานอาหารเย็น
21:30 น.
เข้านอน
ในการฝึกต้องปฏิบัติอย่างเคร่งครัด ทั้งการฝึกซ้อม อาหารการกิน การพักผ่อน การฝึกรับแรงกดดัน รวมถึงการช่วยงานในค่าย เช่น การทำความสะอาด หุงอาหาร และการปรนนิบัติรุ่นพี่ถ้าผ่านการฝึกซ้อมอย่างหนักหน่วงและชนะติดต่อกันจนได้เลื่อนขั้นมาถึงตำแหน่งสูงสุดเรียกว่า โยโกสึนะ 横綱 ก็จะสบายเพราะรายได้เยอะ ยิ่งชนะเยอะกว่าการแพ้รายได้ก็จะเพิ่มขึ้น
การแต่งกายของนักซูโม่
นักซูโม่จะไว้ผมทรงที่เรียกว่า ”ชนมาเกะ” คือไว้ผมยาว รวบเป็นมวยแล้วพาดกลับมาข้างหน้า
ช่วงเอวจะมีผ้าคาดเอว มีลักษณะคล้ายเข็มขัดเรียกว่า “มาวาชิ” ตรงเป้าจุดซ้อนเร้นจะทำมาจากผ้าไหม สายตุ้งติ้งที่อยู่ด้านหน้าเป็นเครื่องรางป้องกันคุณไสย
#️⃣เคะโชะ มาวาชิ 化粧まわし
เป็นผ้าที่มีการตกแต่งอย่างหรูหรา สีสันสวยงาม ผ้าจะห้อยอยู่ด้านหนาแต่ใส่แล้วจะทำให้ลำบากเวลาต่อสู้ ปัจจุบันจะสวมใส่ช่วงแนะนำตัวเท่านั้น
สนามแข่งและกฎกติกาการแข่งขัน
#️⃣สนามแข่งขัน
สนามแข่งขนาดใหญ่ที่รู้จักกันในชื่อ เรียวโงะกุ โคคุงิคัง สร้างขึ้นเมื่อปีค.ศ. 1985 และจุผู้เข้าชมได้มากกว่า 10,000 คน ซึ่งอยู่ในความดูแลของสมาคมซูโม่ญี่ปุ่น เป็นสนามสำหรับจัดการแข่งขันศิลปะการต่อสู้โดยเฉพาะ
#️⃣บริเวณด้านหน้า
บรรยากาศด้านหน้าจะมีป้ายธงหลายสีเพิ่มสีสันให้กับงาน พร้อมชื่อนักกีฬาซูโม่ที่เข้าร่วมการแข่งขันภายในงาน
#️⃣พื้นสนาม
จะเป็นดินที่อัดแน่นและพื้นที่เป็นสี่เหลี่ยมจตุรัสสูงๆ จะมีวงกลมอยู่ด้านใน ในวงกลมด้านในจะใช้เป็นจุดการแข่งขันเส้นวงกลมทำจากฟางข้าวที่นำมาถักและมัดให้แน่นเป็นทรงกระบอกฝังอยู่ในดิน
#️⃣ก่อนแข่งขัน
นักซูโม่จะโรยเกลือลงพื้นเวทีเป็นการชำระล้าง จากนั้นจะยกขากระทืบพื้นทีละข้างแล้วนั่งยองๆ ในตำแหน่งเป็นท่าเตรียมพร้อม วางกำปั้นสองข้างลงบนพื้น เมื่อกรรมการให้สัญญาณก็จะพุ่งเข้าประชิดคู่ต่อสู้ทันที
#️⃣การตัดสินแพ้ชนะ
คือการทำให้คู่ต่อสู้ออกนอก เส้นวงกลมให้ได้ นอกจากฝ่าเท้าแล้ว พยายามอย่าให้ส่วนอื่นของร่างกายที่ไม่ใช่ฝ่าเท้าสัมผัสพื้น เช่น มือแตะพื้นหรือล้ม จะถือว่าแพ้
#️⃣ข้อห้ามของการแข่งซูโม่
1.ห้ามต่อย
2.ห้ามถีบหรือเตะ
3.ห้ามโจมตีตาหรือคอ
4.ห้ามกระชากผม
อาหารของนักซูโม่
ในการรับประทานอาหารของ นักซูโม่จะมีธรรมเนียมว่ารุ่นน้องจะต้องทำอาหารให้รุ่นพี่ ซึ่งจะทำเป็นหม้อใหญ่ เวลาทาน ก็ต้องเรียง ลำดับจาก ผู้ใหญ่ ไปหาผู้น้อย
#️⃣อาหารหลักของซูโม่ คือ จังโกะนาเบะ ちゃんこ鍋
เอกลักษณ์คือ มีปริมาณมหาศาลและอุดมไปด้วยโปรตีนที่ให้พลังงาน หม้อไฟหลัก ๆ แล้วประกอบด้วย น้ำซุปกระดูกไก่ ใส่เนื้อไก่ เนื้อ ปลา ผัก เต้าหู้ ลูกชิ้นและเห็ด ปรุงในหม้อขนาดใหญ่ เสริมด้วยข้าวสวยทานพร้อมกันสิบชาม นักซูโม่จะอดอาหารเช้าเพื่อฝึกซ้อมอย่างหนักให้หิวจนสามารถกินได้เยอะ ๆ ในมื้อกลางวันได้
กีฬาญี่ปุ่นที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานเก่าแก่กว่า 1,500 ปี จากประวัติศาสตร์ดั้งเดิมเคยเป็นพิธีกรรมของลัทธิชินโตในการทำนายผลการเก็บเกี่ยวทางการเกษตร และมีการเต้นระบำเพื่อสร้างความบันเทิงให้เทพเจ้าชินโต จนเมื่อถึงสมัยเอโดะได้พัฒนารูปแบบกลายเป็นความบันเทิงของชาวบ้าน มีการจัดการแข่งขันประลองคู่ต่อสู้ และเปิดให้มีคนเข้ามาชมมากขึ้นโดยการแข่งขันซูโม่โดยมากมักจัดตามศาลเจ้าต่าง ๆ รวมถึงมีสนามประลองซูโม่ และต่อมามีการพัฒนามาเรื่อยๆ จนมาเป็นส่วนหนึ่งของกีฬาประจำชาติของญี่ปุ่น อย่างที่เห็นในปัจจุบัน
#️⃣ก่อนจะเป็นนักซูโม่มืออาชีพต้องเข้าฝึกที่ค่ายฝึกก่อน
แต่ละค่ายอาจมีกฎเกณฑ์รับสมัครต่างกัน แต่ส่วนมากจะรับสมัครอายุไม่เกิน 23-25 ปี ส่วนสูงไม่ต่ำกว่า 165-167 เซนติเมตร น้ำหนัก 65-67 กิโลกรัมขึ้นไปและเป็นเพศชายเท่านั้น
#️⃣ กิจวัตรประจำวันของซูโม่
เวลา |
กิจกรรม |
6:00 น. |
ตื่นนอน |
6:30 น. |
ฝึกซ้อม |
11:00 น. |
อาบน้ำ |
12:00 น. |
รับประทานอาหารกลางวัน |
14:00 น. |
นอนหรือพักผ่อนตามอัธยาศัย |
16:00 น. |
ทำอาหารและฝึกซ้อม |
18:00 น. |
รับประทานอาหารเย็น |
21:30 น. |
เข้านอน |
ในการฝึกต้องปฏิบัติอย่างเคร่งครัด ทั้งการฝึกซ้อม อาหารการกิน การพักผ่อน การฝึกรับแรงกดดัน รวมถึงการช่วยงานในค่าย เช่น การทำความสะอาด หุงอาหาร และการปรนนิบัติรุ่นพี่ถ้าผ่านการฝึกซ้อมอย่างหนักหน่วงและชนะติดต่อกันจนได้เลื่อนขั้นมาถึงตำแหน่งสูงสุดเรียกว่า โยโกสึนะ 横綱 ก็จะสบายเพราะรายได้เยอะ ยิ่งชนะเยอะกว่าการแพ้รายได้ก็จะเพิ่มขึ้น
นักซูโม่จะไว้ผมทรงที่เรียกว่า ”ชนมาเกะ” คือไว้ผมยาว รวบเป็นมวยแล้วพาดกลับมาข้างหน้า
ช่วงเอวจะมีผ้าคาดเอว มีลักษณะคล้ายเข็มขัดเรียกว่า “มาวาชิ” ตรงเป้าจุดซ้อนเร้นจะทำมาจากผ้าไหม สายตุ้งติ้งที่อยู่ด้านหน้าเป็นเครื่องรางป้องกันคุณไสย
#️⃣เคะโชะ มาวาชิ 化粧まわし
เป็นผ้าที่มีการตกแต่งอย่างหรูหรา สีสันสวยงาม ผ้าจะห้อยอยู่ด้านหนาแต่ใส่แล้วจะทำให้ลำบากเวลาต่อสู้ ปัจจุบันจะสวมใส่ช่วงแนะนำตัวเท่านั้น
#️⃣สนามแข่งขัน
สนามแข่งขนาดใหญ่ที่รู้จักกันในชื่อ เรียวโงะกุ โคคุงิคัง สร้างขึ้นเมื่อปีค.ศ. 1985 และจุผู้เข้าชมได้มากกว่า 10,000 คน ซึ่งอยู่ในความดูแลของสมาคมซูโม่ญี่ปุ่น เป็นสนามสำหรับจัดการแข่งขันศิลปะการต่อสู้โดยเฉพาะ
#️⃣บริเวณด้านหน้า
บรรยากาศด้านหน้าจะมีป้ายธงหลายสีเพิ่มสีสันให้กับงาน พร้อมชื่อนักกีฬาซูโม่ที่เข้าร่วมการแข่งขันภายในงาน
#️⃣พื้นสนาม
จะเป็นดินที่อัดแน่นและพื้นที่เป็นสี่เหลี่ยมจตุรัสสูงๆ จะมีวงกลมอยู่ด้านใน ในวงกลมด้านในจะใช้เป็นจุดการแข่งขันเส้นวงกลมทำจากฟางข้าวที่นำมาถักและมัดให้แน่นเป็นทรงกระบอกฝังอยู่ในดิน
#️⃣ก่อนแข่งขัน
นักซูโม่จะโรยเกลือลงพื้นเวทีเป็นการชำระล้าง จากนั้นจะยกขากระทืบพื้นทีละข้างแล้วนั่งยองๆ ในตำแหน่งเป็นท่าเตรียมพร้อม วางกำปั้นสองข้างลงบนพื้น เมื่อกรรมการให้สัญญาณก็จะพุ่งเข้าประชิดคู่ต่อสู้ทันที
#️⃣การตัดสินแพ้ชนะ
คือการทำให้คู่ต่อสู้ออกนอก เส้นวงกลมให้ได้ นอกจากฝ่าเท้าแล้ว พยายามอย่าให้ส่วนอื่นของร่างกายที่ไม่ใช่ฝ่าเท้าสัมผัสพื้น เช่น มือแตะพื้นหรือล้ม จะถือว่าแพ้
#️⃣ข้อห้ามของการแข่งซูโม่
1.ห้ามต่อย
2.ห้ามถีบหรือเตะ
3.ห้ามโจมตีตาหรือคอ
4.ห้ามกระชากผม
ในการรับประทานอาหารของ นักซูโม่จะมีธรรมเนียมว่ารุ่นน้องจะต้องทำอาหารให้รุ่นพี่ ซึ่งจะทำเป็นหม้อใหญ่ เวลาทาน ก็ต้องเรียง ลำดับจาก ผู้ใหญ่ ไปหาผู้น้อย
#️⃣อาหารหลักของซูโม่ คือ จังโกะนาเบะ ちゃんこ鍋
เอกลักษณ์คือ มีปริมาณมหาศาลและอุดมไปด้วยโปรตีนที่ให้พลังงาน หม้อไฟหลัก ๆ แล้วประกอบด้วย น้ำซุปกระดูกไก่ ใส่เนื้อไก่ เนื้อ ปลา ผัก เต้าหู้ ลูกชิ้นและเห็ด ปรุงในหม้อขนาดใหญ่ เสริมด้วยข้าวสวยทานพร้อมกันสิบชาม นักซูโม่จะอดอาหารเช้าเพื่อฝึกซ้อมอย่างหนักให้หิวจนสามารถกินได้เยอะ ๆ ในมื้อกลางวันได้
สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่🔽
⏩️สามารถติดตามกิจกรรมดีๆ และเนื้อหาสาระดีๆ เกี่ยวกับญี่ปุ่นได้ที่นี่