การเรียนภาษาญี่ปุ่นที่วาเซดะ
เราจะเน้นทั้งการฟัง พูด อ่าน เขียน โดยการเรียนตัวอักษรญี่ปุ่นเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้เราอ่านและเขียนภาษาญี่ปุ่นได้ดี โดยตัวอักษรภาษาญี่ปุ่น ที่ใช้กันในปัจจุบันมี 3 แบบ ได้แก่ ฮิรางานะ Hiragana I คาตาคานะ Katakana และ คันจิ Kanji ซึ่งใน 1 ประโยคก็มีการใช้ตัวอักษรทั้ง 3 แบบร่วมกัน ผู้ที่เรียนภาษาญี่ปุ่นเริ่มต้น จึงจำเป็นอย่างมาก ที่จะต้องฝึกเขียนและอ่านออกเสียงตัวอักษรทั้ง 3 แบบ โดยวาเซดะจะมาแนะนำให้ทุกคนได้รู้จัก ตัวอักษรภาษาญี่ปุ่น ทั้ง 3 แบบนี้กัน
นอกจากเขียนวิธีการสอนการอ่านออกเสียงแล้ว ทางวาเซดะมีคลิปมาให้ลองฝึกฟังวิธีการอ่านออกเสียงแต่ละตัวอักษรจากเซนเซ เจ้าของภาษาญี่ปุ่น ว่ามีความแตกต่างและวิธีการใช้ต่างกันอย่างไร
ฮิรางานะ Hiragana
การออกออกเสียงของฮิรางานะประกอบไปด้วยเสียงพยัญชนะและสระตามตัวอย่างในตาราง ตัวอักษรภาษาอังกฤษที่เขียนไว้จะอยู่ในใต้คำฮิรางานะเพื่อแสดงในรูปแบบการอ่านออกเสียง เรียกว่า 「Romaji」 ใช้เขียนบนป้ายชื่อสถานีรถไฟ เป๊นต้น
ข้อควรระวัง
-
การอ่านออกเสียง “し”(shi)“ち”(chi) และ “つ”(tsu) เป็นข้อยกเว้น จะมีความยากในการฟังเวลาอ่านออกเสียง จึงจำเป็นต้องตั้งใจฟัง และฝึกการฟังให้ดี
-
เสียง “ふ” จะเป็นเสียง “fu” แต่การออกเสียงคือ “ฮุ”ไม่ใช่ “ฟุ”
-
“ら(ra)、り(ri)、る(ru)、れ(re)、ろ(ro)”จะใช้ตัว “r”แสดงเสียง แต่การอ่านออกเสียงจะแตกต่างกับ “r”ในภาษาอังกฤษ และ “ร” ในภาษาไทย
-
ปกติแล้ว “ を”จะอ่านออกเสียง “o” แต่ก็สามารถออกเสียงวา “wo” ได้เช่นกัน
-
โดยพื้นฐานแล้ว “ ん” จะออกเสียง“n”แต่สามารถออกเสียง“m”หรือ “ng”ได้ขึ้นอยู่กับเสียงที่ต่อท้าย “ ん”เป็น “m”ถ้าต่อด้วยเสียงที่มีแหล่งกำเนิดจากด้านในสุดของปากเช่น “k” “g”จะอ่านออกเสียง “ ん”เป็น “ng”
ยกตัวอย่างเช่น
-
てんき ten ki
-
さんま sam ma
-
かんぱい kam pai
-
まんが mang ga
คาตาคานะ เป็นตัวอักษรทที่ใช้เขียนทับศัพท์ คือ เขียนเสียงภาษาต่างประเทศ ชื่อชาวต่างชาติ ชื่อสถานที่ในต่างประเทศ เป็นต้น เช่น คำว่า “konpyuta” (Computer) เป็นคำทับศัพท์จากภาษาอังกฤษที่ใช้อยู่ในภาษาญี่ปุ่น
นอกจากนี้ ในปัจจุบันยังมีการใช้ตัวอักษรภาษาอังกฤษเขียนในภาษาญี่ปุ่นด้วย เช่น “CD” “DVD” และ ”Eメール (e-mail)”เป็นต้น ซึ่งจำนวนตัวอักษรคาตาตานะ มี 46 ตัว
คาตาคานะ Katakana
การอ่านคาตาคานะ จะใช้อ่านสำหรับภาษาต่างประเทศ ชื่อสถานที่ในต่างประเทศ และชื่อชาวต่างชาติ ยกตัวอย่างเช่น
タイ(tai) ไทย 、 ピザ (piza) พิซซ่า 、サヤーム(sayamu) สยาม เป็นต้น
นอกจากนี้ยังใช้สำหรับคำเลียนเสียง เช่น เสียงกรี๊ด “キやー” หรือเสียงสุนัขเห่า “ ワンワン” เป็นต้น อีกทั้งยังมีการใช้ตัวอักษรคาตาคานะเขียนคำศัพท์แสลงและคำศัพท์ที่ต้องการเน้นย้ำเป็นพิเศษอีกด้วย
เสียงยาวของคาตาคานะ
วิธีการเขียนเสียงยาวของคาตาคานะแตกต่างกับวิธีการเขียนเสียงยาวของฮิรางานะ โดยตัวอักษรคาตาคานะจะใช้เครื่องหมาย “ー” แสดงเสียงยาว ยกตัวอย่างเช่น
-
カー (ka) Car รถ
-
ケーキ (keki) Cake เค้ก
-
コピー (kopi) Copy ถ่ายเอกสาร
ในกรณีที่เขียนในแนวตั้ง จะต้องเขียนเครื่องหมาย “ー” ไปในแนวตั้งด้วย
カ ケ コ
| | ピ
キ |
คันจิ เป็นตัวอักษรที่รับมาจากประเทศจีน ถ่ายทอดมาสู่ดินแดนญี่ปุ่นผ่านทางคาบสมุทรเกาหลีเมื่อ 1,500 ปีก่อน ในขณะนั้น ญี่ปุ่นยังไม่มีตัวอักษร จึงเริ่มใช้คันจิเพื่อเขียนและถ่ายทอดความหมายในภาษาญี่ปุ่น แต่ว่าการเขียนภาษาญี่ปุ่นด้วยคันจิอย่างเดียวเป็นเรื่องยาก จึงมีการประดิษฐ์ตัวอักษรฮิรางานะ และคาตาคานะ โดยดัดแปลงมาจากตัวอักษรคันจิ ในปัจจุบันการเขียนญี่ปุ่นมีการใช้ทั้งคันจิ ฮิรางานะ คาตาคานะ และอัลฟาเบต (ตัวอักษรภาษาอังกฤษ) ร่วมกัน ซึ่งจำนวนตัวคันจิ มี 2,136 ตัว
ตัวอย่าง 昨日の晩、父に Eメールを書きました
1.คันจิ : ใช้เขียนคำนาม รากศัพท์ของคุณศัพท์ คำกิริยา เป็นต้น
2.ฮิรางานะ : ใช้เขียนส่วนประกอบที่เกี่ยวข้องกับไวยากรณ์ เช่น คำช่วย ส่วนที่มีการผันเสียงในคำกิริยา และคำคุณศัพท์ มีคำเชื่อมและคำวิเศษณ์บางคำที่เขียนด้วยคันจิ แต่ในปัจจุบันมีการเขียนด้วยฮิรากานะมากขึ้น
3.คาตาคานะ : ใช้เขียนคำต่างประเทศ และคำแสลง
4.อัลฟาเบต : ใช้ในการเขียนคำศัพท์สมัยใหม่จากภาษาต่างประเทศ เช่น [ CD] [Eメール]
นอกจากนี้ทางวาเซดะได้มีภาพตัวอักษร เพื่อให้ทุกคนได้ลองฝึกการเขียนตัวอักษรภาษาญี่ปุ่นได้ด้วยตัวเองกันนะครับ
คันจิ Kanji
คันจิที่ใช้ในจีนโดยพื้นฐานของแต่ละตัวอักษรมีวิธีการอ่านแบบเสียงเดียวเท่านั้น แต่คันจิใช้ในญี่ปุ่น แต่ละตัวอักษรจะมีวิธีอ่านอย่างน้อย 2 แบบ ได้แก่ องโยะมิ และคุงโยะมิ
องโยะมิ (เสียงอ่านแบบจีน)
องโยะมิเป็นเสียงอ่านที่ได้รับมาจากจีน แม้จะเป็นเสียงอ่านแบบจีน แต่เสียงอ่านก็แตกต่างกันไปตามยุคสมัยและท้องถิ่น ขึ้นอยู่กับว่าได้รับถ่ายทอดอักษรคันจิตัวนั้นมาเมื่อใด จากแห่งใด เมื่อญี่ปุ่นได้รับการถ่ายทอดเสียงอ่านแบบใดมา ก็จะได้รับอ่านเสียงนั้นมาใช้ จึงมีคันจิบางตัวที่มีเสียงอ่านแบบองโยะมิ 2 เสียงขึ้นไป
คุงโยะมิ (เสียงอ่านแบบญี่ปุ่น)
เนื่องจากการเขียนภาษาญี่ปุ่นด้วย องโยะมิเพียงอย่างเดียวเป็นเรื่องยาก จึงมีการประยุกต์เอาคำภาษาญี่ปุ่นแท้มามาใช้อ่านคันจิ เรียกว่าเสียง “คุงโยะมิ” เช่นคำว่า “คน” ในภาษาญี่ปุ่น คือ 「ひと」 ส่วนคันจิที่หมายถึง “คน” คือ 「人」 ซึ่งมีวิธีออ่านแบบองโยะมิว่า「にん」เหมือนกับตอนที่ได้รับถ่ายทอดมาจากจีน ญี่ปุ่นจึงกำหนดให้คันจิตัวนี้มีวิธีอ่านว่า 「ひと」 ด้วย
ยกตัวอย่างคันจิที่มีเสียงอ่านหลายแบบ
- せい (sei) 学生 (がくせい) (gakusei)
- しょう(sho) 殺生 (せっしょう) (sessho)
- じょうび(joubi) 誕生日 (たんじょうび) (tanjoubi)
- い (i) 生きる (いきる) (ikiru)
- は(ha) 生える (はえる) (haeru)
- う(u) 生まれる (うまれる)(umareru)
- お(o) 生い立ち (おいたち) (oitachi)
- なま(nama) 生 (なま) (nama)
- き(ki) 生地 (きじ) (kiji)
- きっ(kissu) 生粋 (きっすい)(kissui)
สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่🔽