ศิลปะการสื่อสาร เจรจาด้วยหัวใจ สไตล์ญี่ปุ่น
(The Art of Communication by Omotenashi)
ดร.บุปผา ลาภะวัฒนาพันธ์
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.บุปผา ลาภะวัฒนาพันธ์
อาจารย์ประจำคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
คอลัมนิสต์
- หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ คอลัมน์ “สัพเพเหระ-ค้าปลีก”
- นิตยสารแบรนด์เอจ เอสเซนเชียล
- เพจ SME Thailand Online
วิทยากรด้านการตลาด
การสร้างแบรนด์ และการสื่อสารการตลาดให้กับภาครัฐและภาคเอกชน
ที่ปรึกษาด้านการตลาดและการสร้างแบรนด์
• วิทยากรบรรยาย วิทยากรเสวนา และผู้ดำเนินรายการด้านการสื่อสารการตลาด
และการสร้างแบรนด์ให้กับภาครัฐและภาคเอกชน
• อาจารย์ประจำหลักสูตรนิเทศศาสตร์การตลาด คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
(สอนระดับปริญญาเอก ระดับปริญญาโท และระดับปริญญาตรี)
อาจารย์พิเศษ
- คณะมนุษยศาสตร์ ภาควิชานิเทศศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
- คณะมัณฑนศิลป์ สาขาวิชาการจัดการการออกแบบ (โครงการพิเศษ) มหาวิทยาลัยศิลปากร
- คณะสื่อสารมวลชน สาขาเทคโนโลยีการสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยรามคำแหง
ที่ปรึกษาโครงการวิจัย
ผู้ทรงคุณวุฒิประเมินผลงานวิจัย และกรรมการสอบวิทยานิพนธ์
หลักการและเหตุผล
เมื่อทรัพยากรบุคคลคือปัจจัยหลักในการขับเคลื่อนความสำเร็จขององค์กร การพัฒนาบุคลากรให้เป็น “มืออาชีพ” ทั้งความเชี่ยวชาญในสายงานและความเต็มใจส่งมอบคุณค่าการบริการด้วยหัวใจตามแบบฉบับญี่ปุ่น หรือเรียกว่า Omotenashi กลายเป็นความได้เปรียบใหม่ที่หลายองค์กรนำมาใช้สร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน เพราะไม่เพียงลูกค้าจะได้รับบริการเกินความคาดหมาย แต่สามารถรับรู้ถึงจิตวิญญาณของการบริการด้วยหัวใจ พัฒนาสู่ความผูกพันแบบไม่รู้ตัว เมื่อนำ Omotenashi ผ่านปรัชญาญี่ปุ่น “อิจิโกะ อิจิเอะ” (Ichigo-ichie หรือ 一期一会) เน้นวิธีคิดในการทำงานว่า เราควรปฏิบัติและรักษาความสัมพันธ์ที่ดีแก่คนที่เราได้พบเจอหรือลูกค้าอย่างดีที่สุด เพราะมันอาจเป็นครั้งแรกและครั้งสุดท้ายที่ได้พบกัน และปรัชญาญี่ปุ่น “โคดาวาริ” (Kodawari หรือ こだわり) ซึ่งเป็นวิถีแห่งการพัฒนาตัวเองของคนญี่ปุ่นที่ได้รับการยกย่องจากคนทั่วโลก เป็นปรัชญาที่เกี่ยวข้องกับการทำงานด้วยความตั้งใจแน่วแน่ในการทำบางสิ่งให้ออกมาดีที่สุด ใส่ใจในรายละเอียด ปราณีตบรรจง พิถีพิถัน เรียนรู้ ทบทวน พัฒนาตนเองให้สามารถสร้างงานที่มีคุณภาพขึ้นเรื่อย ๆ
จนกลายเป็นมาตรฐานการทำงานแบบญี่ปุ่น หลอมรวมเข้ากับศิลปะการสื่อสาร ส่งผลให้การพัฒนาทักษะการเจรจาด้วยหัวใจสไตล์ญี่ปุ่นนี้ช่วยสร้างความเข้าใจอันดีภายในหน่วยงาน ลดความขัดแย้ง ต่อยอดสู่ความร่วมมือระหว่างกันเพื่อขับเคลื่อนความสำเร็จองค์กร พร้อมเปลี่ยนคุณเป็นคนใหม่อย่างไม่รู้ตัว
หลักสูตรออกแบบมาเพื่อให้ผู้เข้าอบรมพัฒนาทักษะการสื่อสารด้านต่างๆ ได้แก่ การคิด การฟังและการจับประเด็นการใช้คำพูดและประโยคที่เหมาะสม การใช้น้ำเสียง และการร้อยเรียงเรื่องราว ตลอดจนเรียนรู้เทคนิคการสื่อสารแบบฉบับญี่ปุ่นที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงานภายในองค์กร ส่งผลให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
การสื่อสารและเจรจาเหนือความคาดหมาย
ตามแนวคิดและปรัชญาญี่ปุ่น
Ichigo-ichie และ Kodawari ที่จะเปลี่ยนคุณเป็นคนใหม่
วัตถุประสงค์การอบรม
- เพื่อพัฒนาทักษะการสื่อสารด้านต่าง ๆ และเรียนรู้เทคนิคการสื่อสารสไตล์ญี่ปุ่น ที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงานภายในองค์กร ซึ่งจะนำไปสู่ความเข้าใจที่ถูกต้องและความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างกัน
- เพื่อเรียนรู้กระบวนการคิดวิเคราะห์อย่างมีกลยุทธ์และสร้างสรรค์
หัวข้อบรรยาย
- Omotenashi เทคนิคการเจรจาด้วยหัวใจ เพื่อขับเคลื่อนความสำเร็จองค์กร และเปลี่ยนคุณเป็นคนใหม่อย่างไม่รู้ตัว
- ปลดล๊อคข้อจำกัด เพิ่มความเชื่อมั่น ฝึกกระบวนการคิดวิเคราะห์อย่างมีกลยุทธ์และสร้างสรรค์
- การสื่อสารเหนือความคาดหมาย สอดแทรกปรัชญาญี่ปุ่น Ichigo-ichie และ Kodawari
– หลัก “Ichigo-ichie” โอกาสครั้งเดียวและครั้งสุดท้าย การใส่ใจดูแลเหมือนเป็น ครั้งสุดท้ายที่จะได้เจอ
– หลัก “Kodawari” จิตวิญญาณที่ตั้งใจให้งานออกมาดีที่สุด สไตล์ญี่ปุ่น
• ทักษะการสื่อสารด้านต่าง ๆ ที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงานภายในและภายนอกองค์กร
– ไขรหัสลับการสื่อสาร เพราะหัวใจอยู่ที่ผู้ฟัง ไม่ใช่ผู้พูด
– การสื่อสารเพื่อโน้มน้าวใจ: สร้างความร่วมมือ ลดข้อร้องเรียน พร้อมเป็นหนึ่งเดียวกัน
– ทักษะการสื่อสารภายในองค์กร เพื่อขับเคลื่อนความสำเร็จ
- การคิด
- การฟังและการจับประเด็นสำคัญ
- การใช้คำพูดและประโยคที่เหมาะสม
- การใช้น้ำเสียง
- การร้อยเรียงเรื่องราว
– เรียนรู้เทคนิคการสื่อสารที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงาน
- เทคนิคการสร้างสายสัมพันธ์กับคู่สนนทนา
- เทคนิครู้เขา รู้เรา…ถอดรหัสเพื่อหาวิธีรับมือและซื้อใจอย่างได้ผล
- เทคนิคการจัดหมวดหมู่ข้อมูลและเรียงลำดับความสำคัญของงาน
- เทคนิคการสรุปประเด็นให้น่าสนใจ
- เทคนิคการตั้งคำถามและตอบคำถาม
กลุ่มเป้าหมาย : พนักงานทุกระดับ
On-site: 7 ธันวาคม 2565
เวลา 09.00-16.00 น.
ค่าอบรม : 4,000.- / คน รับจำนวน 30 คน
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++